จุดเน้นแนวทางการพัฒนาเป้าหมายความสำเร็จ
1. องค์กรแห่งความปลอดภัย1. จัดทำแผนรักษาความปลอดภัย และแผนเผชิญเหตุ
2. สร้างความตระหนักรู้ให้ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีทักษะในการรับมือภัยพิบัติและภัย คุกคามทุกรูปแบบ
3. รายงานเหตุการณ์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีแผนรักษาความปลอดภัย
และแผนเผชิญเหตุ ร้อยละ 100
2. สถานศึกษามีการประเมินความเสี่ยงและมีกิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือทักษะในการรับมือด้านความปลอดภัย Safety action ทุกรูปแบบ ร้อยละ 100
3. สถานศึกษาที่เกิดเหตุ และรายงานเหตุการณ์ ร้อยละ 100
4. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ร้อยละ 100
2. เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ใช้ระบบดิจิทัลและเทคโนโลยี
ในการประชาสัมพันธ์กับสื่อออนไลน์ อย่างรวดเร็ว
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาสร้างเนื้อหา (Content)
และผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับการสื่อสารประชาสัมพันธ์องค์กร
1. สถานศึกษามีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ที่หลากหลาย ร้อยละ 100
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาสร้างเนื้อหา (Content) และผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับการสื่อสารประชาสัมพันธ์องค์กร ร้อยละ 100
3. ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษามีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 80
3. การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างยั่งยืน1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำนำกรอบแนวทางการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทุกชั้น (อ.1-3) สู่การปฏิบัติ
2. สถานศึกษานำกรอบแนวทางการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทุกชั้น (อ.1-3)
สู่การปฏิบัติ
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำแผนนิเทศ ติดตามการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2560
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม/พัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย ในการนำสาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย
6. นิเทศ กำกับ และติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัยสู่ความยั่งยืน
1. พัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ผ่านระดับ 3 ร้อยละ 90 ของการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
2. ครูปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็ม ตามศักยภาพ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป โดยมีจุดหมายสำคัญเมื่อเด็กจบการศึกษา ระดับปฐมวัย ดังนี้
2.1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี ร้อยละ 90
2.2 สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม ร้อยละ 90
2.3 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัยและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 90
2.4 มีทักษะการคิด การใช้ภาษา สื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย ร้อยละ 85
3. สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามบริบทพื้นที่เป็นฐาน
4. ห้องเรียนคุณภาพปฐมวัยระดับ สถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5. ครูปฐมวัยดีเด่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
4. การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) สู่ความเข้มแข็ง
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2. ผู้บริหารสถานศึกษาขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
สู่ห้องเรียน
3. ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
4. กำกับ นิเทศ ติดตามและสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอนของครู ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยใช้กระบวนการ PLC
1. นักเรียนมีผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับ 1 ขึ้นไป ร้อยละ 95 ขึ้นไป (ตรวจสอบข้อมูลจาก School mis)
2. ผู้บริหารสถานศึกษามี Best Practice /นวัตกรรม/รูปแบบในการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างน้อย โรงเรียน ละ 1 ชิ้น
3. สถานศึกษามีห้องเรียนคุณภาพ ทุกระดับชั้น
4.สถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ของผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 หรือ เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ด้าน
5. สถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
5. การอ่านออกเขียนได้1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำมาตรการและแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย 
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำคู่มือการนิเทศและติดตามการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยและ ศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูผู้สอน สร้าง/พัฒนานวัตกรรม หรือรูปแบบการแก้ปัญหา/พัฒนา นักเรียนด้านการอ่านออกเขียนได้
4. สถานศึกษาคัดกรองความสามารถด้านการอ่าน การเขียน ของนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 – ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 นิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อ การสื่อสารระดับหมู่บ้าน/ตำบล
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีมาตรการและ แผนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ภาษาไทย ร้อยละ 100
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีคู่มือการนิเทศ
และติดตามการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทยและศูนย์พัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร ร้อยละ 100
3. สถานศึกษามีนวัตกรรมหรือรูปแบบในการแก้ปัญหา/พัฒนานักเรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ร้อยละ 100
4. ร้อยละ 80 ของนักเรียนแต่ละชั้น มีผลการคัดกรองความสามารถด้าน การอ่าน การเขียน ระดับพอใช้ขึ้นไป
5.ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 (RT) ภาพรวมเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ร้อยละ 100